วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

สรุปบทเรียนที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร

บทเรียนที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร



บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร
          การบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องอาศัยการบริหารที่เป็นระบบและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขององค์การ ผู้บริหารจะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ข้อมูลและสารสนเทศ นับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการวางแผนปฏิบัติงานและการควบคุมเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
องค์การและสิ่งแวดล้อมตามความหมายทางเทคนิค หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ เน้นองค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วน คือ
1.) ปัจจัยหลักด้านการผลิต
2.) กระบวนการผลิต
3.) ผลผลิต

         ระบบสารสนเทศสามารถถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานขององค์การ บางระบบอาจเปลี่ยนแปลงความสมดุลทางสิทธิ ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบที่เคยมี ในขณะเดียวกันองค์การเองก็มีผลกระทบต่อการออกแบบระบบสารสนเทศ และเป็นผลกระทบต่อระบบสารสนเทศต่อองค์การ คือ
1) ลดระดับขั้นตอนของการจัดการ
2) มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3) ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
4) เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
5) กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่

        ระบบสารสนเทศที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์การได้ และมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การและคู่ค้าซึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ถูกนำมาสร้างเป็นโครงสร้างของระบบสารสนเทศภายในองค์การ ระบบอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการสร้างช่องทางการตลาด การขาย และให้การสนับสนุนลูกค้า
องค์การเสมือนจริง เป็นรูปแบบขององค์การแบบใหม่ ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์การที่เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ ลดต้นทุน สร้างและกระจายสินค้าและบริการ ลักษณะขององค์การเสมือนจริงประกอบด้วย
1) มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2) ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
3) มีความเป็นเลิศ
4) มีความไว้วางใจ
5) มีโอกาสทางตลาด

ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ โดยทั่วไปจำแนกออกเป็น
1) ผู้ปฏิบัติงาน
2) ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ
3) ผู้บริหารระดับกลาง
4) ผู้บริหารระดับสูง

ระบบสารสนเทศสามารถจัดแบ่งประเภทได้ดังนี้
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ โดยทั่วไป จะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อยๆหลายระบบตัวอย่างเช่น ระบบสารสนเทศงานบริหารโรงแรม ประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อย ได้แก่ ระบบสำรองห้องพัก ระบบบัญชี ระบบจัดการห้องพัก และระบบบริหารงานบุคคล
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก เช่น ระบบสารสนเทศจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยระบบย่อย ได้แก่ ระบบจัดการข้อมูลพนักงาน ระบบการสรรหาและคัดเลือก ระบบฝึกอบรม ระบบประเมินผล และระบบสวัสดิการ 
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน ผู้บริหารในองค์การระดับที่แตกต่างกัน มีความต้องการในการใช้ระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศจึงได้ถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและตัดสินใจ

     1. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS) เป็นระบบที่มีการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และ ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล หรือฐานข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ
การประมวลผลข้อมูลของ TPS แบ่งเป็น 2 ประเภท
            1) การประมวลผลแบบกลุ่ม
            2) การประมวลผลแบบทันที
ยกตัวอย่าง
ระดับปฏิบัติการ ใช้ TPS เช่น การสั่งซื้อ การผลิต งานวิจัย การเงิน บัญชี เป็นต้น
กิจกรรมของการประมลผลรายการ
- การเก็บรวบรวมข้อมูล - การแก้ไขข้อมูล 
- การแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง - การจัดการข้อมูล
- การจัดเก็บข้อมูล - การผลิตเอกสาร 
โปรแกรมประยุกต์การประมวลผลรายการ เช่น ระบบการวิจัยตลาด ระบบการผลิต ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบเงินเดือน ฯลฯ

     2.ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหาร (Management Support System)
ระบบสารสนเทศที่มีการจัดการกับสารสนเทศและสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารให้เกิดประสิทธิผล เรียกว่าระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการ บริหาร โดยเน้นเรื่องการสนับสนุนการตัดสินใจในระดับการจัดการระดับต่างๆ ไม่เน้นที่การประมวลข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการทางธุรกิจและเน้นที่โครงร่างของระบบควรจะถูกใช้ในการ จัดการการใช้งานระบบสารสนเทศ รูปที่ 5 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารและระดับของการจัดการ


ความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหาร และระดับของการจัดการ

บทบาทของการจัดการในองค์กร
        ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สนับสนุนบทบาทในการจัดการของผู้บริหาร ดังนี้
1.การวางแผน (Plan) หมายถึง การกำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ในการบริหารองค์กร
2. การจัดการ (Organize) หมายถึง การจัดสรรทรัพยากรที่ต้องการนำมาใช้ในองค์กร
3. การเป็นผู้นำ (Lead) หมายถึง การกระตุ้นพนักงาน เพื่อให้ปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมาย
4. การควบคุม (Control) หมายถึง การควบคุมดูแล เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าไปยังเป้าหมายที่วางไว้

       3.ระบบการจัดการองค์ความรู้ KWS (Knowledge Work System) และระบบการจัดการสำนักงาน Office System ได้นำเสนอข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้ปฏิบัติงานระดับที่เป็นงานเฉพาะด้าน (Knowledge worker) ขององค์กร ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบสำนักงานซึ่งเอื้อประโยชน์แก่การทำงานของพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูลประจำวัน (Clerk) ซึ่งอย่างที่ได้ทราบกันมาดีแล้วว่า knowledge worker คือคนที่มีความสามารถเฉพาะทาง เช่น แพทย์ วิศวกร ซึ่งงานที่คนเหล่านี้ได้รับผิดชอบมีความสำคัญอย่างมากต่อการที่องค์กรจะสามารถสร้างข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ในระบบนี้ knowledge worker จะออกแบบพื้นฐานความรู้เฉพาะด้านของตนเอง ผ่านกระบวนการการจำลองรูปแบบและทดลองการทำงาน ผลที่ได้รับออกมาคือ ต้นแบบของความรู้พื้นฐานที่ค้นพบ หรืออาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของตารางการเปรียบเทียบระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems - KWS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น

      4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ โดยปกติแล้ว TPS และ MIS จะจัดทำรายงานสำหรับควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั่วๆไป เพื่อให้องค์การดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง
ส่วนประกอบของ DSS
             1. ระบบย่อยการจัดการข้อมูล (DMS : Data Management Subsystem) ประกอบก้วย Data warehouse , DBMS
             2. ระบบย่อยการจัดการแบบจำลอง (Model base Management System : MBMS) ประกอบด้วยแบบจำลองต่างๆ
หน้าที่หลัก ของ MBMS
- สร้างแบบจำลองอย่างง่ายและรวดเร็ว 
- ใช้แบบจำลองหลายชนิดเพื่อแก้ไขปัญหา
- เป็นตัวกลางติดต่อระหว่างแบบจำลองกับผู้ใช้ 
- เข้าถึงและรวมแบบจำลองที่ถูกสร้างขึ้นไว้ล่วงหน้า
แบบจำลอง แบ่งเป็น - แบบจำลองกลยุทธ์ ใช้สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (ผู้บริหารระดับสูง)
- แบบจำลองยุทธวิธี ใช้ในการจัดสรรและควบคุมทรัพยากร (ผู้บริหารระดับกลาง)
- แบบจำลองปฏิบัติการ ใช้สนับสนุนกิจกรรมประจำวัน (ผู้บริหารในสายงาน)
- แบบจำลองที่ถูกสร้างขึ้นไว้ล่วงหน้า เป็นซอฟท์แวร์สำเร็จรูป
           3. User Interface 
           4. ระบบย่อยจัดการความรู้ (ถูกเพิ่มเติมเข้าไปต่างหาก)
           5. USER

ประเภทของ DSS 
1. ตามแนวคิดของ Alter แบ่ง DSS ออกเป็น 7 ประเภท คือ - ระบบสอบถามข้อมูล - ระบบวิเคราะห์ข้อมูล 
- ระบบวิเคราะห์สารสนเทศ - แบบจำลองทางบัญชี - แบบจำลองตัวแทน - แบบจำลองการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด 
- แบบจำลองการให้ข้อเสนอแนะ(สองแบบแรกจะเน้นด้านข้อมูล แบบที่สามเน้นเรื่องของผลลัพธ์และแบบจำลอง และสี่แบบที่เหลือให้ความสำคัญกับแบบจำลองโดยระบบ จะมีความสามารถในการทำแบบจำลองและคำนวณ)

       5. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems :EIS หรือ Executive Support Systems : ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวาวงแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง
บทบาทของผู้บริหารและความต้องการสารสนเทศ แบ่งได้สองขั้นตอน คือ 
1. เกี่ยวข้องกับการกำหนดปัญหาและโอกาส
2. เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจว่าจะทำอย่างกับปัญหาและโอกาส
ความสามารถของระบบ ESS คือ การให้สารสนเทศทั้งในรูปแบบสรุปและรายละเอียดหรือการเจาะลึกข้อมูล 
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้มาจาก องค์กร อุตสาหกรรม และ สภาพแวดล้อม 
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จขององค์กร คือ 
-ความสามารถในการทำกำไร
- การเงิน อัตราส่วนการเงิน 
- การตลาด (ส่วนแบ่งการตลาด) 
-ทรัพยากรมนุษย์ (อัตราการเปลี่ยนงาน ระดับความพึงพอใจในงาน) 
- การวางแผน 
- การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ 
- แนวโน้มผู้บริโภค
เมื่อกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จแล้วต้องควบคุมให้สอดคล้องกับสารสนเทศ ดังนี้
- รายงานปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น - สารสนเทศทางการเงิน
- กราฟสรุปการดำเนินงานที่สำคัญ - ดัชนีชี้วัดผลประกอบการหลัก - รายละเอียดของดัชนีชี้วัดผลประกอบการหลัก
ประโยชน์ของ ESS คือ การอำนวยความสะดวกในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร การเข้าถึงข้อมูล ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการตัดสินใจและการติดต่อสื่อสาร



แหล่งที่มา :   http://ann-wanida.blogspot.com/2010/07/blog-post_20.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

แบบฝึกหัดบท ครั้ง 10  บทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ 1. สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหา 1 หน้ากระดาษรายงานเพื่อเตรียมตัวสอบ  ...