วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561

แบบฝึกหัดบทที่ 5 อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

แบบฝึกหัด ครั้งที่ 5
บทที่  5 อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


1. จงอธิบายความหมายของอินเทอร์เน็ต 
ตอบ  อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึงกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อ สื่อสารด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน จะเรียกว่า Internetwork หรือ Interne

2. จงอธิบายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Direct Internet Access
ตอบ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง (Direct Internet Access) การเชื่อต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับ โครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน (Backbone) โดยต้องมีอุปกรณ์ที่ท าหน้าที่เป็นเกตเวย์ (Gateway) ในการเชื่อมต่อ ซึ่งได้แก่เราเตอร์ (Router) โดยปกติแล้วการเชื่อมต่อในลักษณะนี้มักเป็น องค์การของรัฐ สถานบันการศึกษาที่อนุญาตให้หน่วยงานอื่นใช้เครือข่าวร่วมกัน

3. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง 
ตอบ 1. แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business to Business) เป็นธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง ส่วนใหญ่เป็นการตกลงซื้อขายสินค้าบริการปริมาณมาก 
      2. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (C2C : Consumer to Consumer) ผู้ชื่อและผู้ขายจำนวนมากจะเข้ามาเพื่ติดต่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามือสองหรือการประมูล
      3. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C:Business to Consumer) เป็นการทำธุรกรรมกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่นการจองที่พักโรงแรม เสื้อผ้า

4. จงอธิบายขั้นตอนกระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
ตอบ   1. การค้นหาข้อมูล
          2. การสั่งซื้อสินค้า 
         3. การชำระเงิน 
         4. การส่งมอบสินค้า 
         5. การให้บริการหลังการขาย

5. จงหาเว็บไซต์ขายของออนไลน์ มา 5 เว็บไซต์
ตอบ  1)lnwshop.com

         2)makewebeasy.com

         3)tarad.com

         4)weloveshopping.com

        5)shopup.com


สรุปบทเรียนที่ 5 อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

บทที่ 5 อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส

ความหมายและความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
    อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครื่อข่ายที่มีขนาดใหญ่ ไร้ขอบเขต เชื่อมต่อเครือข่ายทั้งหลายเข้าด้วยกันทั่วโลก ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะสามารถติดต่อสื่อสารได้กว้างไกล อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นในปีพ.ศ.2503 จากการจัตั้งหน่วยงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษา และฝ่ายวิจัยพัฒนาทางการทหารของสหรัฐอเมริกา
อินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดกระทบทางธุรกิจได้แก่
 1. สามารถแข่งขันได้ทั่วโลก เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อเปิดกว้าง
 2. เว็บไซต์สามารถเป็นสื่อกลางของร่วมมือในการทำงาน
 3. ลดบทบาทของพ่ค้าคนกลาง
 4. มีความเปนอิสระในด้านเวลา
 5. สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูล

พาณิชย์อิเล็กทอร์นิกส์
     พาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ข้อดีของพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์มีข้อดีหลายประการคือ
 1. ขายได้โดยไม่จำกัดเวลา
 2. ขายได้โดยไม่จำกัดสถานที่
 3. สามารถให้ข้อมูลที่สับซ้อนและมีรายระเอียดได้ดี
 4. สามารถสื่อสารหรือเสนอสินค้าแบบรายบุคคลได้
สินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 1. สินค้าที่จับต้องได้ เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ หนังสือ เป็นต้น
 2. สินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น ซอฟแวร์ เกม เพลง เป็นต้น 
 3. บริการอิเล็กทรอนิกส์
 4. รายได้อื่นๆ
รูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์
 1. Business to Business (B2B) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจ กับองค์กรธุรกิจด้วยกัน
 2. Business to Consumer (B2C) คือการทำธุรกรรมระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค มุ่งเน้นการขายปลีก สินค้าที่ขายมีหลายประเภท
 3. Consnmer to Consumer(C2C) คือการทำธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค โดยอาจกระทำผ่านเว็บสื่อกลาง
 4. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(E-Government) หมายถึง วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายสื่อสาร
 5. การพาณิชย์เคลื่อนที่(M-Commerce) หมายถึงรูปแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ ผ่านอุปกรณ์ไร้สาย
เทคโนโลยีที่นำมาใช้กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 1. โปรแกรมสืบต้นข้อมูล(Search Engine) ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ 
 2. จอภาพดิจิทัล(Digital Signage) คือจอภาพลักษณะเดียวกับจอโทรทัศน์ มีไว้เพื่อสื่อโฆษณาตามจุดต่างๆ
 3. ดิจิทัลเกม(Digital Games) 
 4. ไวรัส มาร์เก็ตติ้ง(Viral Marketing) คือการเชิญชวนให้ผู้บริโภคเป้าหมายหรือลูกค้า มีความรู้สึกร่วม พูดถึงหรือส่งต่อข้อมูลของสินค้าไปให้ผู้อื่น
 5. Addressable media คือสื่อที่มีรหัสประจำสามารถระบุตัวผู้ใช้งานได้
 6. Digital DNA คือข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการใช้สารสนเทศด้วยอุปกรณ์ส่วนตัว
 7. สังคมออนไลน์(Social network) หมายถึงกลุ่มของผู้คนที่แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น ความสนใจ ร่วมกัน
การชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 1. ระบบชำระเงินแบบจ่ายก่อน เป็นระบบที่ผู้ซื้อจะต้องนำเงินไปชำระให้กับธนาคาร เพื่อแลกเปฌนเงินอิเล็คทรอนิกส์เสียก่อน และเมื่อต้องการซื้อสินค้า ร้านค้าจะทำการหักเงินจากบัญชีนั้น
 2. ระบบชำระแบบจ่ายทีหลัง ผู้ซื้อจะทำการซื้อสินค้าโดยธนาคารจะจ่ายเงินค่าสินค้าให้ก่อน แล้วจึงมาเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อ เช่นเดียวกับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต
กลยุทธ์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 1. กลยุทธ์การตลาดออนไลน์
 2. กลยุทธ์4I ได้ให้ความสำคัญกับปัจจัย4ประการได้แก่
    2.1 Information หรือสารสนเทศ
    2.2 Individual คือการเข้าถึงตัวผู้บริโภค
    2.3 Interactive หมายถึงผู้ใช้เว็บหรืออุปกรณ์สือสา
    2.4 Integrated หมายถึงจะต้องใช้ข้อมูลหลายอย่างเพื่อให้สามารถเข้าถึงตัวผู้บริโภคได้
3กลยุทธ์ 4Cคือกลยุทธ์การตลาดในยุคใหม่
    3.1 Consumer solutionคือการคำนึงถึงความต้องการลูกค้าเป็นหลัก
    3.2 Consuer's Cost คือการทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าต้นทุนของตนต่ำกว่าคนอื่น
    3.4 Communication คือการติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคในภาพรวม 


แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/vgcgghhj/home/bth-thi-5

แบบฝึกหัดบทที่ 4 การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัด ครั้งที่ 4
บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. จงอธิบายลักษณะการส่งและรับสัญญาณจากผู้ส่งไปยังผู้รับ
ตอบ  1. อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูล 
         ผู้รับ(Receive) หรืออุปกรณ์รับข้อมูล ผู้ส่ง(Sender) หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล เป็นต้นทาง
ของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมข้อมูล และอุปกรณ์รับข้อมูล ปลายทางมีหน้าที่รับข้อมูล
ที่ส่ง มาให้ จัดแบ่ง 2 ชนิด คือ
            1. อุปกรณ์ DCE (Data Communication Equipment) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณ
การรับส่งข้อมูลหรืออุปกรณ์ที่เป็นจุดสิ้นสุดของระบบส่งสัญญาณข้อมูล เช่น โมเด็ม
           2. อุปกรณ์ DTE (Data Terminal Equipment)      อุปกรณ์ที่เป็นแหล่งกำเนิด
ของการรับส่งข้อมูลหรืออุปกรณ์ที่เป็นจุดสิ้นสุดของระบบสื่อสารข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์
     2. โปรโตคอล (Protocol) เป็นวิธีการหรือกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลเพื่อให้ผู้รับ
และผู้ส่งสามารถเข้าใจกันได้
     3. ข้อมูลข่าวสาร (Message) ข้อมูลข่าวสารที่ทำการจัดส่งไปตามสายการสื่อสารข้อมูล
ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของ ข้อมูล (Data) เสียง (Voice) ภาพ (Image)
     4. สื่อกลาง (Communication Medium) เป็นสื่อกลางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทาง
ไปยังปลายทาง เช่น สายเคเบิล คลื่นผ่านทางอากาศ

            
2. ลักษณะการส่งข้อมูลสามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกตามลักษณะได้กี่แบบอะไรบ้าง
ตอบ   สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกตามลักษณะการส่งข้อมูลได้ 2 ชนิด
     1. การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission) จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียง ต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง
       2. การส่งแบบขนาน (parallel transmission) การส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวม บิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่ม

3. จงบอกวิธีการเข้ารหัสข้อมูล data code อย่างน้อย 3 อย่าง
ตอบ    1.Plaintext Input หมายถึง ข้อความเริ่มแรกที่ยังไม่ได้เข้ารหัส และมีความต้องการที่จะเข้ารหัส
         2. Encryption Algorithm เป็นกระบวนการแปลงข้อความ Plaintext ไปเป็นข้อความที่ไม่สามารถอ่านได้ 
           3. Secret Key เป็นรหัสที่ต้องป้อนเข้าไปในกระบวนการเข้ารหัส โดยการแปลงข้อความของอัลกอริทึมในการเข้ารหัส จะขึ้นกับ Secret Key ที่ป้อนเข้าไป

4. จงบอกความแตกต่างของการส่งสัญญาณแบบอนาลอก และสัญญาณดิจิตอล
ตอบ  สัญญาณอนาลอก 
สัญญาณที่มีความต่อเนื่องกันตลอดเวลา โดยสัญญาณนี้จะอยู่ในรูปของความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ เปลี่ยนไปมาอย่างต่อเนื่อง การก าหนดลักษณะของสัญญาณจะก าหนดเป็นขนาดหรือแอมปลิจูด (Amplitude) กับ ค่าความถี่ (Frequency)
         สัญญาณดิจิตอล
สัญญาณที่มีค่าไม่ต่อเนื่อง ลักษณะของสัญญาณนี้จะมีอยู่สองระดับถูกแทนเป็นระดับสัญญาณ สูง หรือลอจิกสูง กับระดับสัญญาณต่ำ หรือลอจิกต่ำ





วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สรุปบทเรียนที่ 4การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

บทที่ 4 
การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. ควาหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล
    การสื่อสาร (communication) หมายถึง การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่ง ไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง
    ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการหาความจริง โดยในที่นี้ข้อมูลจะอยู่ในรูปเลขฐานสอง ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถทำงานได้
    การสื่อสารข้อมูล (data communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอน หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบเลขฐานสอง ของอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ผ่านตัวกลางในการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลมีจุดประสงค์เพื่อติดต่อ และเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

2. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้ตาสภาพการเชื่อมโยงเป็น 4 ชนิด ดังนี้

2.1 เครือข่ายส่วนบุคคล
        เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (personal area network : PAN) เป็นเครือข่ายเชื่อมต่อไร้สายส่วนบุคคลที่มีระยะใกล้ๆ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอณ์กับโทรศัพท์มือถือ เชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือกับหูฟังบลูธูท เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือเข้าด้วยกัน เป็นต้น

2.2 เครือข่ายเฉพาะที่
เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (local area network : LAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ หรือคอมพิวเตอร์ในบริเวณใกล้ๆ กัน เข้าด้วยกัน เช่น ภายในห้อง ภายในอาคาร ระหว่างอาคาร โดยมีอุปกรณ์สำหรับเชื่อมโยงเครือข่าย เช่น สวิตช์ ฮับ เป็นต้น โดยการเชื่อมต่ออาจจะเป็นแบบใช้สาย หรือแบบไร้สายก็ได้

 2.3 เครือข่ายนครหลวง
        เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (metropolitan area network : MAN) เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น ภายในตำบล หรืออำเภอ ระยะเชื่อมโยงประมาณ 5-40 กิโลเมตร โดยการเชื่อมต่อจะเป็นแบบสายสัญญาณ เช่น สายใยแก้วนำแสง (fiber optic), สายโคแอกเชียล (coaxial)

 2.4 เครือข่ายวงกว้าง
        เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (wide area network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงในระยะที่ไกลมากๆ มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด หรือระหว่างประเทศ


3. โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาจจะมีการใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายต่างชนิดกัน ซึ่งไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของข้อมูลที่ส่ง และกำหนดมาตรฐานเพื่อให้อุปกรณ์ที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้

    3.1 โพรโทคอล
        โพรโทคอล (protocol) คือข้อตกลง รูปแบบที่คอมพิวเตอร์จะติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน
การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสาร  เพื่อให้ระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้   โพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารมีหลายประเภท เช่น
       
       1) โพรโทคอลเอชทีทีพี (hyper text transfer protocol) เป็นโพรโทคอลหลักที่จะใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ ใช้แลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มแอล (hyper text markup language : html) ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องลูกข่าย ที่ใช้โปรแกรมค้นดูเว็บกับเครื่องแม่ข่าย โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพี (transfer control protocol : tcp)


      2) โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (transfer control protocol / internet protocol : tcp/ip) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีการระบุผู้รับ ผู้ส่งในเครือข่าย และแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็จส่งผ่านไปทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากมีการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอให้ส่งข้อมูลใหม่

      
     3) โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี (simple mail transfer protocol : smtp) คือโพรโทคอลสำหรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) หรือ email ไปยังจุดหมายปลายทาง



      4) บลูธูท (bluetooth) โพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับสั่งข้อมูล คล้ายกับระบบแลนไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น
        ปัจจุบันมีโพรโทคอลอีกมากมายนอกจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน (file transfer protocol : ftp), การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันใช้โพรโทคอลเอ็นเอ็นทีพี (network news transfer protocol : nntp) เป็นต้น


 
3.2 อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบเครือข่ายได้นั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (network device) ซึ่งทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูล โดยมีอุปกรณ์ ดังนี้
        1) เครื่องทวนสัญญาณ (repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งต่อไปยังปลายทาง ใช้ในกรณีเมื่อมีการส่งสัญญาณไปในระยะทางที่ไกลๆ จะทำให้แรงดันสัญญาณอ่อนลง อุปกรณ์ดังกล่าวจะรับสัญญาณแล้วส่งต่อสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งสัญญาณไปถึงปลายทางได้



       2) ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณ ที่มาจากอุปกรณ์รับ-ส่ง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน สัญญาณที่ส่งมจากฮับจะกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับ

       3) บริดจ์ (bridge) ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกันโดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลตัวเดียวกัน สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งต่อได้ โดยทำการตรวจสอบว่าข้อมูลที่จะส่งนั้นมีปลายทางอยู่ที่ใด บริดจ์ก็จะส่งข้อมูลไปยังปลายทางอยู่เท่านั้น ทำให้การจัดการกับความหนาแน่นของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


       4) อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) สามารถกรองข้อมูลได้เช่นเดียกับบริดจ์ แต่จะมีความสามารถมากกว่า ตรงที่สามารถเส้นทางในการส่งข้อมูล (data packet) ไปยังเครื่องปลายทางในระยะทางที่สั้นที่สุด


      5) สวิทช์ (switch) จะมีความสามารถคล้ายกับฮับและบริดจ์รวมกัน แต่การรับส่งข้อมูลจะไม่กระจายเหมือนกับฮับ เพราะการรับ-ส่งข้อมูล สวิทช์จะทำการตรวจสอบก่อนว่าข้อมูลเป็นของคอมพิวเตอร์เครื่องใด และจะส่งข้อมูลไปเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความคับคั่งของข้อมูล


       6) เกตเวย์ (gateway) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โพรโทคอลใดก็ตาม เนื่องจากเกตเวย์สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลของธพรโทคอลหนึ่งไปยังโพรโทคอลหนึ่งได้ ทำให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอื่นๆ ได้อย่างไม่จำกัด แต่ในปัจจุบันได้รวมการทำงานของเกตเวย์ไว้ในอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) แล้ว


4. เทคโนโลยีรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    เทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

    4.1 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย
        เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามชนิดของสายสื่อสารได้ 3 ชนิดคือ
        1) สายตีเกลียวคู่ หรือสายคู่บิดเกลียว (twisted pair cable) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้นบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสายข้างเคียงกันหรือจากภายนอก โดยทั่วไปใช้ส่งข้อมูลดิจิทัล ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลอยู่ที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร เนื่องจากมีราาไม่แพงมาก จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ


 1.1 สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน (un-shielded twisted pair : utp) เป็นสายชนิดที่ไม่มีฉนวนหุ้มสาย ทำให้สะดวกในการโค้งงอ และราคาถูก
            1.2 สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดหุ้มฉนวน (shielded twisted pair : stp)เป็นสายชนิดที่มีฉนวนหุ้มสาย รองรับความถี่ได้มากกว่าสายแบบไม่มีฉนวนหุ้ม แต่มีราคาแพงกว่า
        2) สายโคแอกซ์ (coaxial cable) เป็นสายลักษณะเดียวกับสายที่ต่อมาจากเสาอากาศ ประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหุ้มฉนวนชั้นหนึ่ง สายโคแอกช์ทั่วไปมี 2 ชนิดคือ 50 โอห์ม ซึ่งจะใช้ส่งข้อมูลสัญญาณดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งส่งสัญญาณข้อมูลอนาล็อก
  

       3) สายใยแก้วนำแสง (fiber optic cable) หรือเส้นใยนำแสง แกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือเส้นพลาสติกขนาดเล็กภายในกลวงจำนวนมาก เส้นใยแต่ละเส้นจะมีเส้นใยอีกเส้นห่อหุ้ม การส่งผ่านข้อมูลจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยการหักเหของแสง โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นตัวสะท้อนแสง สามารถส่งผ่านข้อมูลได้สูงมาก ไม่มีการก่อกวนของคล่ื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ข้อเสียของสายชนิดนี้คือ เมื่อสายมีการบิดงอจะมีปัญหาในการส่งผ่านข้อมูล


4.2 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย
        เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย อศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณ ซึ่งสามรถแบ่งความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ 4 ชนิด ดังนี้
        1) อินฟราเรด (infrared) เป็นคลื่นที่ใช้ส่งข้อมูลระยะใกล้มากๆ ในช่วงความถี่ที่แคบมากๆ ใช้ช่องทางสื่อสารน้อย การสื่อสารข้อมูลเป็นในแนวตรง ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งและตัวรับสัญญาณ ระยะทางไม่เกิน 1-2 เมตร ความเร็วประมาณ 4-16 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมทคอนโทรลไปยังโทรทัศน์


        2) คลื่นวิทยุ (radio frequency) โดยใช้ตัวกระจายสัญญาณส่งไปในอากาศ และมีตัวรับสัญญาณ จะเป็นคลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กัน มีความเร็วต่ำประมาณ 2 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การสื่อสารในระบบวิทยุเอฟเอ็ม เอเอ็ม, การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สาย (Wi-Fi)
       3) ไมโครเวฟ (microwave) จะมีสถานนีส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปตามอากาศ พร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง จะมีสถานีรับ-ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ ส่งต่อข้อมูลกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวโค้งได้ สถานีรับ-ส่งข้อมูลมักจะอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าอาคาร, ยอดเขา, เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวาง 


        4) ดาวเทียม (satellite) เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนท้องฟ้า ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ-ส่งไมโครเวฟบนพื้นโลก


5. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    1. ความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล
    2. ความถูกต้องของข้อมูล
    3. ความเร็วของการทำงาน
    4. ประหยัดต้นทุนของการสื่อสารข้อมูล
    5. สามารถจัดเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง
    6. การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้
    7. การทำงานแบบกลุ่ม

แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/kruwerapangree/thekhnoloyi-sarsnthes-m-2-ng22202/--hnwy-thi-2-kar-suxsar-khxmul-laea-kherux-khay-khxmphiwtexr















วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

โปรแกรมในการจัดการฐานข้อมูล

โปรแกรมในการจัดการฐานข้อมูล


สาระสำคัญ
Microsoft Excel ใช้สำหรับเก็บข้อมูลในลักษณะของตาราง ที่มีความสามารถในการคำนวณและสร้างกราฟจากข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันได้พัฒนามาถึงรุ่นที่มีชื่อเรียกว่า Microsoft Excel 2010 ที่พัฒนารูปลักษณ์ของหน้าตาและการใช้งานโปรแกรมให้ดูง่าย โดยมีส่วนติดต่อผู้ใช้ที่มีการรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ให้สามารถใช้งานได้ง่ายและเป็นระบบมากขึ้น
Excel คืออะไร
       Excel เป็นโปรแกรมประเภท สเปรดชีต (Speadsheet) หรือโปรแกรมตารางงาน ซึ่งจะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ลงบนแผ่นตารางงาน คล้ายกับการเขียนข้อมูลลงไปในสมุดที่มีการตีช่องตารางทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งช่องตารางแต่ละช่องจะมีชื่อประจำแต่ละช่อง ทำให้ง่ายต่อการป้อนข้อมูล การแก้ไขข้อมูล สะดวกต่อการคำนวณและการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ สามารถจัดข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเป็นหมวดหมู่และเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น


คุณสมบัติที่สำคัญในโปรแกรม Excel
       1. ความสามารถด้านการคำนวณ Excel สามารถป้อนสูตรการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น รวมทั้งสูตรคำนวณด้านอื่น ๆ และจุดเด่นของการคำนวณคือผลลัพธ์ของการคำนวณจะเปลี่ยนแปลงตาม เมื่ออินพุตที่นำมาเปลี่ยนค่า ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนแปลงค่าผลการคำนวณใหม่
       2. ความสามารถด้านการใช้ฟังก์ชั่น นอกจากการป้อนสูตรคูณทางคณิตศาสตร์แล้ว Excel ยังสามารถป้อนฟังก์ชั่นอื่น ๆ ได้อีก เช่น ฟังก์ชั่นเกี่ยวกับตัวอักษร ตัวเลข วันที่ ฟังก์ชั่นเกี่ยวกับการเงินหรือการตัดสินใจ
       3. ความสามารถในการสร้างกราฟ Excel สามารถนำข้อมูลที่ป้อนลงในตารางมาสร้างเป็นกราฟได้ทันที มีรูปกราฟให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบตามความเหมาะสม เช่น กราฟแท่ง แสดงยอดขายแต่ละเดือด กราฟวงกลม แสดงส่วนแบ่งการตลาด เป็นต้น
       4. ความสามารถในการตกแต่งตารางข้อมูล Excel สามารถตกแต่งตารางข้อมูลหรือกราฟข้อมูลด้วยภาพสีและรูปแบบตัวอักษรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและแยกแยะข้อมูลได้ง่ายขึ้น
       5. ความสามารถในการจัดเรียงลำดับ Excel สามารถคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่ต้องการมาวิเคราะห์ได้
       6. ความสามารถในการพิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์ Excel สามารถพิมพ์งานทั้งข้อมูลและรูปภาพหรือกราฟออกทางเครื่องพิมพ์ได้ทันที ซึ่งทำให้ง่ายต่อการสร้างรายงาน
       7. ความสามารถในการแปลงข้อมูลในตารางให้เป็นเว็บเพจเพื่อนำมาแสดงในโฮมเพจ

อ้างอิงแหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/kroopanumas/bth-reiyn-microsoft-excel/excel-khux-xari

กรณีศึกษา ร้านก๋วยเตี๋ยว

กรณีศึกษา: การใช้พีดีเอในร้านขายก๋วยเตี๋ยว


 1. ประโยชน์ที่ได้จากการนำพีดีเอมาใช้ในธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวมีอะไรบ้าง
ตอบ ( 1). ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
พนักงานสามารถรับรายการอาหารได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งด้านการ บริหารที่รวดเร็วและการช่วยลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
การจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โดยเมื่อมีการรับรายการอาหารข้อมูลเหล่านั้นก็จะถูกบันทึกในฐานข้อมูลของร้าน จึงทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลภายหลังได้ และทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ
เมื่อนำพีดีเอเข้ามาช่วยทำให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพเจ้าของร้านจึงสามารถทำบัญชี และสรุปยอดขายได้ง่าย
        ( 2.) ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน
จากประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการบริการและสามารถดึงดูดลูกค้าให้หันมาใช้บริการเพิ่มมาก
-ร้านก๋วยเตี๋ยว ได้พัฒนาการบริการโดยการนำเครื่อง PDA เข้ามาช่วยในการรับรายการอาหาร ทำให้การบริการรวดเร็วขึ้น ลูกค้าได้รับอาหารที่ถูกต้องแม่นยำ
       ( 3.) ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศที่ได้มีประสิทธิ น่าเชื่อถือ เจ้าของร้านสามารถนำข้อมูลสารสนเทศนั้นไปใช้ในการตัดสินใจด้านต่างๆ เช่น
- เพิ่มยอดขาย
- ขยายสาขา
- หรือแม้แต่การปรับเงินเดือนพนักงานด้วย

       ( 4.) ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
ทำให้ลูกค้ามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นเพราะลูกค้าไม่ต้องใช้เวลาในการรออาหารนานเกินไป
เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการบริการแล้ว พนักงานก็จะได้รับคำชมจากลูกค้า ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกดีและอยากใช้บริการในโอกาสต่อไป
ทำให้เจ้าของร้านเกิดความภาคภูมิใจที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจและพนักงานก็ให้ความเคารพนับถือแล้วก็ปฏิบัติงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

2. ท่านคิดว่ามีข้อจำกัดหรือปัญหาอะไรบ้างในการนำเทคโนโลยีพีดีเอมาใช้ในธุรกิจนี้
ตอบ   - ปัญหาในด้านของการฝึกอบรม เนื่องจากการนำเครื่องพีดีเอมาใช้งาน จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้เครื่องพีดีเอก่อนเพราะถ้าหากไม่มีการอบรมก่อนอาจจะทำให้เกิดขอผิดพลาดในการทำงานได้

          - ข้อจำกัดในด้านของเงินทุน เนื่องจาก เครื่องพีดีเอในปัจจุบันยังมีราคาค่อนข้างสูง และจำเป็นจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการรับ - ส่งขอมูล จึงทำให้ธุรกิจต่างๆที่จะนำ เครื่องพีดีเอมาใช้ในการประกอบการนั้นอาจจะมีเงินทุนไม่เพียงพอ

3. ธุรกิจใดบ้างที่สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ จงอธิบาย
ตอบ   - ร้านขายกาแฟ
           - ร้านไอศกรีม
           - ร้านอาหารตามสั่ง

สาเหตุเพราะว่า ลักษณะของบริการคล้ายๆ กับร้านก๋วยเตี๋ยว แต่แตกต่างกันตรงผลิตภัณฑ์สินค้าเท่านั้นเองที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้าจะมองโดยรวมๆ ก็คือสามารถนำมาดัดแปลงบางส่วนของรายการสินค้า แล้วก็ในเรื่องของราคา หรือในรายละเอียดส่วนอื่นๆ บางส่วนที่ไม่เหมือนกัน ก็คิดว่าสามารถทำได้  อีกทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการบริหารร้านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย




แหล่งที่มา : https://yongtion.blogspot.com/2011/11/blog-post_11.html?fbclid=IwAR0R0gfubzUSSXTXzuMmVmj01NqOa9Z7BkfEJihstBlg1KRbOFxuqEh7HOU

แบบฝึกหัดบทที่ 3 ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล

แบบฝึกหัด ครั้งที่ 3
บทที่ 3 ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล


1. จงเรียงลำดับชั้นโครงสร้างข้อมูลจากเล็กไปหาใหญ่ 
ตอบ  1.บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น
         2.ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น
        3.ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว ชื่อพนักงาน เป็นต้น
        4.เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด 
เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด
       5.ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมดเป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น
       6.ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกันเป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น

2. DBMS หมายถึง
ตอบ   DBMS. ย่อมาจาก data base management system (แปลว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้ หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย

 3. จงยกตัวอย่างการใช้ฐานข้อมูลในงานธุรกิจ 
ตอบ  1. ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต
         2. ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา เช่น งานรับมอบตัว งานทะเบียนเรียนรายวิชา งานประมวลผลการเรียน งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา งานส่งนักศึกษาฝึกงาน

4. รูปแบบของฐานข้อมูลแบ่งเป็นกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
ตอบ  รูปแบบของฐานข้อมูลแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
         1. แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical Database Model)
         2. แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network Database Model)
         3. แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)

5. จงบอกปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดการแฟ้มข้อมูล
ตอบ   1. ความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data Redundancy) 
          2. ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม (Program-Data Dependence) 
          3. การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Lack of Data sharing) 
          4. การขาดความร่วมมือ (Lack of Flexibility) 
          5. การขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี (Poor Security)





แบบฝึกหัดบทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

แบบฝึกหัดบท ครั้ง 10  บทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ 1. สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหา 1 หน้ากระดาษรายงานเพื่อเตรียมตัวสอบ  ...