วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

แบบฝึกหัดบทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

แบบฝึกหัดบท ครั้ง 10 
บทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

1. สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหา 1 หน้ากระดาษรายงานเพื่อเตรียมตัวสอบ 
ตอบ  ในสังคมแห่งความรู้ (Knowlede Society) ความรู้ ถือเป็นทรัพยากรหลักที่มีค่ายิ่งซึ่งแตกต่างจากปัจจัยอื่นๆ เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งสภาวะดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยลำดับขั้นของความรู้สามารถแบ่งออกเป็น 5 ลำดับขั้นคือ ข้อมูล ความรู้ สาสนเทศ ความชำนาญ ความสามารถ
ในปัจจุบันองค์การที่ประสบความสำเร็จคือ องค์การที่มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอและเผยแพร่ความรู้นั้นไปทั่วทั้งองค์การ lkujiro Noraka และ Tekeuchi (1995) จึงได้นำเสนอโมเดความรู้ที่มีชื่อว่า SECI – Knowledge Conersion Process ที่ประกอบด้วยกระบวนการ 4 กระบวนการ ได้แก่ Soci alization, Externalition, Combination, และ Internalization
ในเมื่อสารสนเทศและความรู้มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการจัดการสารสนเทศไม่สามารถจัดการความรู้ได้ เพราะมีความซับซ้อนมากกว่า จึงมีการจัดการความรู้หรือ KMเกิดขึ้น ซึ่งการจัดการความรู้ หมายกึงกระบวนการอย่างเป็นระบบที่องค์การพัฒนาขึ้นมาเกี่ยวกับการแสวงหา การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอด และการใช้/การแพร่กระจายความรู้ เพื่อพัฒนาให้องค์การมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน
กระบวนการในการจัดการความรู้นั้น มีการจำแนกที่แตกต่างกัน จากการศึกษา ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่ากระบวนการจัดการความรู้นั้น ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 5 ส่วนคือ กระบวนการแสวงหา การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอด และการใช้/การเผยแพร่ความรู้ โดยองค์การที่มีความคิดในการจัดความรู้ จำเป็นต้องพัฒนากระบวนการจัดการความรู้เฉพาะองค์การเองเพื่อให้องค์การสามารถจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 

2. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ และการจัดการความรู้ 
ตอบ   ข้อมูล คือ ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง บันทึกกิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร 
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
ความรู้ คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน

3. ความรู้องค์กร (Organizational knowledge) หมายถึง 
ตอบ  องค์กรต้องการถ่ายโอนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานในองค์กรเพื่อให้กับพนักงานทั้งเก่าและใหม่ เพื่อให้เข้าใจและสามารถน าไปใช้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดี ในขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องการถ่ายโอนความรู้ จากพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญให้กลับมาเป็นฐานความรู้ขององค์กรเพื่อไม่ให้ความรู้นั้นหายไปจากองค์กร และเป็นแหล่งสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรด้วย

4. จงบอกประโยชน์ของการจัดการความรู้ในองค์กร 
ตอบ   1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร 
           2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต 
           3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด
           4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร
           5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ 
          6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน 
         7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที 
         8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร 
         9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่
        10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง ไปสู่วัฒนธรรมความรู้ในแนวราบ ซึ่งทุกคนมีสิทธิในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน
5. จงบอกปัญหาที่เกิดขี้นของการจัดการความรู้ 
ตอบ  ปัญหาในเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น ยังเป็นปัญหาที่ตัวบุคคลด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ แม้ว่าบุคลากรทุกคนรู้ว่าการแบ่งปัน ความรู้เป็นสิ่งที่ดี และการแบ่งปันความรู้นั้นไม่ได้ทำให้ความรู้ลดน้อยลงเลยแต่กลับยิ่งทำให้ความรู้นั้น เพิ่มพูนขึ้น แต่หลายคนยังมีความกังวลในการแบ่งปันความรู้กับผู้อื่น 

6. การใช้อินเทอร์เน็ตมีความส าคัญต่อการจัดการความรู้อย่างไร 
ตอบ  อินเทอร์เน็ตช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้ทำได้รวดเร็วและง่าย อินเทอร์เน็ตช่วยในการกระจาย ความรู้ในกลุ่มเป้าหมายที่กว้างมากขึ้น อินเทอร์เน็ตช่วยลดปัญหาและข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง และเวลา เช่นสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือกระดานข่าว กับกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงหรือบุคคลทั่วไปก็ได้

7. จงบอกกระบวนการของการจัดการความรู้
ตอบ ประกอบด้วย 6 ส่วน
        1. การสร้างความรู้ (Create)
        2. การจัดและเก็บความรู้ (Capture/Store)
        3. การเลือกหรือกรองความรู้ (Refine)
        4. การกระจายความรู้ (Distribute)
        5. การใช้ความรู้ (Use)
        6. การติดตาม/ตรวจสอบความรู้ (Monitor)





สรุปบทเรียนที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

บทเรียนที่ 10  เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้


 ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้น มีงานวิจัยจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฏว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงความสำเร็จในการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าการจัดการความรู้จะเป็นกระบวนการไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีกลับถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ องค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีผลต่อความสำเร็จในระบบการจัดการความรู้เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ทั้งในส่วนของพนักงานและองค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) และเทคโนโลยีการจัดเก็บ (Storage technology)
  • เทคโนโลยีการสื่อสาร ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต
  • เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรค์ในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่นโปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น
  • เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เช่นมีระบบฐานข้อมูลและระบบการสื่อสารที่ช่วยในการสร้าง ค้นหา แลกเปลี่ยน จัดเก็บความรู้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้โดยเฉพาะที่เรียกว่า Know-ware เช่น ระบบ Electronic document management หรือ Enterprise knowledge portal นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้
ดังแสดงในตารางที่ 
1 ตารางที่ 1.ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการความรู้ของ Bollinger และ Smith




อินเทอร์เน็ตกับบทบาทสำคัญในการจัดการความรู้
  อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โปรแกรมค้นหาช่วยในการค้นหาข้อมูลและความรู้ที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะข้อมูลที่ไม่ตรงกับความต้องการนักก็ตาม ในการจัดการความรู้แล้วอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาจากคำสำคัญในฐานข้อมูลความรู้ต่างๆ ดังเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกมีระบบฐานข้อมูลความรู้สนับสนุนการศึกษาและวิจัยจำนวนมาก การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความรู้ได้มากกว่าย่อมหมายความว่าโอกาสในการเรียนรู้มีมากกว่า
อินเทอร์เน็ตช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้ทำได้รวดเร็วและง่าย อินเทอร์เน็ตช่วยในการกระจายความรู้ในกลุ่มเป้าหมายที่กว้างมากขึ้น อินเทอร์เน็ตช่วยลดปัญหาและข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางและเวลา เช่นสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือกระดานข่าวกับกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงหรือบุคคลทั่วไปก็ได้
เมื่อข้อมูลหรือสารสนเทศมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นการจัดเก็บก็จำเป็นต้องมีความซับซ้อนมากตามไปด้วยดังเห็นได้จากรูปแบบและกรรมวิธีของการจัดเก็บที่จัดเก็บแบบแฟ้มตัวอักษรมาเป็นระบบฐานข้อมูลทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ ระบบดาต้าแวร์เฮาส์ (Data warehouse) และระบบดาต้าไมน์นิ่ง (Data mining) และในอนาคตคงมีระบบจัดการข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากกว่านี้ ท่านผู้อ่านลองจินตนาการว่าหากไม่มีเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วข้อมูลต่างๆ จะจัดเก็บกันในรูปแบบไหน และความยากง่ายในการค้นหาและดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้จะเป็นอย่างไร องค์กรที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสร้างความรู้ใหม่เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่นห้างสรรพสินค้านำข้อมูลการขายมาวิเคราะห์และสร้างเป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับลูกค้าและรายการสินค้าทำให้รู้ว่าลูกค้าต้องการสินค้าประเภทไหน ปริมาณมากน้อยเท่าไหร่ สินค้าแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ห้างสรรพสินค้านั้นก็สามารถนำความรู้นั้นมาใช้ในปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และการดำเนินการเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้
ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตที่เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกันทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge transfer) ทำได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยียังช่วยให้การนำเสนอสามารถเลือกได้หลายรูปแบบเช่นตัวอักษร รูปภาพ แอนนิเมชั่น เสียง วิดีโอ ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศยังสามารถช่วยในการจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้และสารสนเทศต่างๆ (knowledge storage and maintenance) เทคโนโลยีช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย จึงนับได้ว่าเทคโนโลยีจึงเป็นเครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้
อย่างไรก็ตามการเน้นเฉพาะที่เทคโนโลยีหรืออินเทอร์เน็ตโดยปราศจากความสนใจในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรและวัฒนธรรมขององค์กรแล้ว การดำเนินการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จก็เป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพนักงานไม่เข้าใจและสนใจในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้แล้วก็อาจเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้

ปัญหาการจัดการความรู้
      "เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันได้ง่ายยิ่งขึ้น" ประโยคที่แสดงประโยชน์และคุณสมบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ ประโยคในทำนองนี้มีให้เห็นอยู่ดาษดื่น แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้หากไม่มีแหล่งข้อมูลหรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่มีความยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับผู้อื่น ดังนั้นปัญหาเทคโนโลยีในเรื่องของการเรียนรู้ไม่ใช่เกิดจากปัญหาในเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น ยังเป็นปัญหาที่ตัวบุคคลด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ แม้ว่าบุคลากรทุกคนรู้ว่าการแบ่งปันความรู้เป็นสิ่งที่ดี และการแบ่งปันความรู้นั้นไม่ได้ทำให้ความรู้ลดน้อยลงเลยแต่กลับยิ่งทำให้ความรู้นั้นเพิ่มพูนขึ้น แต่หลายคนยังมีความกังวลในการแบ่งปันความรู้กับผู้อื่น เช่นความกังวลว่าตัวเองจะลดบทบาทและความสำคัญลงหลังจากที่แบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น องค์กรจำเป็นต้องมีมาตรการและนโยบายที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ การกระจายความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทั้งของบุคลากรและองค์กรเอง

สรุป
     เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การแสวงหาความรู้ การกระจายความรู้ การถ่ายทอดความรู้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่รับประกันความสำเร็จของการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ ดังที่ Walsham [2001] กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่คำตอบที่แก้ปัญหาการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์กร เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศไม่สามารถอธิบายความรู้ที่เป็น Tacit knowledge ที่ต้องผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์และความเชื่อใจของบุคลากรได้ ดังนั้นความสำเร็จของการจัดการความรู้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กรและบุคลากร สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบจัดการความรู้ขององค์กรคือการพัฒนาบุคลากรให้มีความปรารถนาในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ซึงจะนำไปสู่การปรับตัวสู่รูปแบบองค์กรใหม่ที่เรียกว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) นั่นเอง



เอกสารอ้างอิง :
Bollinger, S.A. and Smith, D.R. (2001), Managing organizational knowledge as a strategic asset, Journal of Knowledge Management, Vol. 5, No. 1, pp.8-18.
Demarest, M. (1997). Understanding knowledge management. Journal of Long Range Planning, 30(3): 374-384.
Lueg, C. (2001), Information, knowledge, and networked minds, Journal of Knowledge Management, Vol. 5, No. 2, pp.151-160
Nonaka, I. and H. Takeuchi, (1995), The Knowledge Creating Company, Oxford University Press, New York, NY.
Probst, G., S.Raub, and K.Romhardt, (2000), Managing Knowledge Building Blocks for Success, John Willey & Sons Ltd, England.
Von Krogh, G., K. Ichiro, and I. Nonaka, (2000), Enabling Knowledge Creation, Oxford University Press, New York, NY.
Walsham, G. (2001). Knowledge Management: The Benefits and Limitations of Computer Systems, European Management Journal, 19(6):599-608.
Yen, D.C. and D.C. Chou, (2001), Intranets for organizational innovation, Information Management & Computer Security, 9(2):80-87



แบบฝึกหัดบทที่ 9 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

แบบฝึกหัด ครั้ง 9 
บทที่ 9 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

1. Geographic Information System หมายถึง
ตอบ  เครื่องมือที่ใช้ระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการน าเข้า จัดเก็บ จัดเตรียม ดัดแปลง แก้ไข จัดการ และวิเคราะห์ พร้อมทั้งแสดงผลข้อมูลเชิงพื้ นที่ ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ได้ก าหนดไว้ ดังนั้น GIS จึงเป็น เครื่องมือที่มีประโยชน์เพื่อใช้ในการจัดการ และบริหารการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านพื้ นที่ ให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนของข้อมูลและการผสาน ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) หรือข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) เพื่อให้เป็นข่าวสารที่มีคุณค่า


2. จงบอกองค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 
ตอบ  

3. ข้อมูลที่แสดงทิศทาง (vector data) มีกี่ประเภท อะไรบ้าง 
ตอบ   ข้อมูลแสดงทิศทาง (Vector Data) คือข้อมูลที่แสดงด้วย จุด เส้น หรือพื้นที่ ที่ประกอบด้วยจุดพิกัดทางแนวราบ (X , Y) และ/หรือ แนวดิ่ง (Z) หรือ Cartesian Coordinate System ถ้าเป็นพิกัดตำแหน่งเดียวก็จะเป็นค่าของจุด ถ้าจุดพิกัดสองจุดหรือมากกว่าจะเป็นค่าของเส้น ส่วนพื้นที่นั้นจะต้องมีจุดมากกว่า 3 จุดขึ้นไป และจุดพิกัดเริ่มต้นและจุดพิกัดสุดท้ายจะต้องอยู่ตำแหน่งเดียวกัน เช่น ถนน แม่น้ำ ขอบเขตการปกครอง โรงเรียน เป็นต้น
         ลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่ ในรูปแบบเวกเตอร์จะมีลักษณะและรูปแบบ (Spatial Features) ต่าง ๆ กันพอสรุปได้ดังนี้ คือ
         - รูปแบบของจุด (Point Features) 
         - รูปแบบของเส้น (Linear Features)
         - รูปแบบของพื้นที่ (Polygon Features) 


4. จงอธิบายขั้นตอนการทำงานของระบบ GIS
ตอบ   1) การนำเข้าข้อมูล (input) ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่อง คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น 
          2) การปรับแต่งข้อมูล (manipulation) ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับ การปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้ จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกัน เสียก่อน
          3) การบริหารข้อมูล (management) ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกน ามาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุด คือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (RDBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐาน ดังนี้ คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง 
          4) การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (query and analysis) เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ข้นั ตอนต่อไป คือ การนำขอ้มลู เหล่านี่มาใชใ้หเ้กิดประโยชน์เช่น ใครคือเจา้ของกรรมสิทธื์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียนเมืองสองเมืองนี้ มีระยะห่างกันกี่กิโลเมตร? ดินชนิดใดบ้างที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้ เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (proximity หรือ buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (overlay analysis) เป็นต้น 
          5) การนำเสนอข้อมูล (visualization) จากการด าเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของ ตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั่งระบบมัลติมีเดีย สื่อต่าง ๆ เหล่านี้ จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้นอีก  



วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

สรุปบทเรียนที่ 9 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทเรียนที่  9 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System : GIS )
1. ความหมายของคำว่า    “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System : GIS )”
      ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
        GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ – ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน

2. องค์ประกอบของ GIS ( Components of GIS )
องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์  คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printer หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน
2. โปรแกรม  คือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ
3. ข้อมูล  คือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร
4. บุคลากร  คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS
5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน  คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง


3. หน้าที่ของ GIS ( How GIS Works ) ภาระหน้าที่หลัก ๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ควรจะมีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างดังนี้
1. การนำเข้าข้อมูล (Input)  ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น
2. การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)  ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน
3. การบริหารข้อมูล (Management)  ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (DBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐานดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง

4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)
เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น
  • ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน ?
  • เมืองสองเมืองนี้มีระยะห่างกันกี่กิโลเมตร ?
  • ดินชนิดใดบ้างที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย ?
หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (Overlay Analysis) เป็นต้น หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน                                      (Overlay Analysis) เป็นต้น
5. การนำเสนอข้อมูล (Visualization)
จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีก ทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย

4.  ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
        ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดเก็บระบบข้อมูลซึ่งมีอยู่มากมายในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ทำให้ในปัจจุบันได้มีการนำ GIS มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน

การใช้งานระบบสารสนเทศจะมีประโยชน์มากในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ถ้ารู้จักการใช้งาน การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะต้องมีเป้าหมายชัดเจน รู้จักคัดเลือกข้อมูลมาวิเคราะห์ การใช้งานจะต้องวางแผนงานในการกำหนดคุณภาพ มาตราส่วนของข้อมูลและที่สำคัญคือ ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา การบูรณาการข้อมูลหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน และสามารถสร้างแบบจำลองทดสอบเปรียบเทียบข้อมูลก่อนที่มีการลงมือปฏิบัติจริง การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่สำคัญได้แก่
1. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน ธรณีวิทยาหินและแร่ ชายฝั่งทะเลและภูมิอากาศ
2. ด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร เช่น การแบ่งชั้นคุณภาพพื้นที่เกษตร ดินเค็มและดินปัญหาอื่น ความเหมาะสมของพืชในแต่ละพื้นที่ การจัดระบบน้ำชลประทาน การจัดการด้านธาตุอาหารพืช
3. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การแพร่กระจายของฝุ่นและก๊าซ การกำหนดจุดเก็บตัวอย่างจาก โรงงาน การป้องกันความเสียหายของโบราณสถานหรือสถานที่ท่องเที่ยว การป้องกันไฟไหม้ป่า เป็นต้น
4. ด้านสังคม เช่น ความหนาแน่นของประชากร เพศ อายุ การศึกษา แรงงาน ตำแหน่งของโรงเรียนและการเดินทางของนักเรียน เป็นต้น
5. ด้านเศรษฐกิจ เช่น รายได้ของประชากรของหมู่บ้าน ตำบล สินค้าหลัก ตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานประเภทต่างๆ เป็นต้น
แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/paenorted/rabb-sarsnthes-phumisastr

สรุปบทเรียนที่ 8 วิธีสร้าง QR-Code

บทเรียนที่ 8 วิธีสร้าง QR-Code


การสร้าง QR Code ด้วย SpreadSheet

          สำหรับบทความนี้ก็จะเป็นการแนะการสร้าง QR Code ด้วย SpreadSheet ซึ่งประโยชน์ของ  QR Code (คิวอาร์ โค้ด) นีก็จะทำให้เราสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลต้องต่าง ๆ ได้ง่ายเพียงแค่เราใช้ Smartphone (สมาร์ทโฟน) ในการอ่าน QR Code แล้วให้เปิดงาน เปิดไฟล์ เปิดภาพวีดีโอต่าง ๆ อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วมากขึ้น มีวิธีสร้างอย่างไรเรามาดูกันครับ

การสร้าง QR Code เพื่อเปิดวีดีโอในยูทูบ
   ขั้นตอนที่ 1 เปิด SpreadSheet ขึ้นมา
spread sheet เปิดspread sheet เปิด


    
 ขั้นตอนที่ 2 ไป Copy ลิงค์ยูทูบ โดยการเปิดยูทูบ แล้วนำลิงค์นั้นมาวางลงใน  (spread sheet เปิดขึ้นมา
Sheet line Youtrue

Sheet line Youtrue


   
ขั้นตอนที่ 3 พิมพ์โค๊ดตามรูปแบบนี้ =IMAGE("https://chart.googleapis.com/chart?chs=150x150&cht=qr&chl="& ชื่อเซล) แล้วกด Enter 
                       ตัวอย่าง : =IMAGE("https://chart.googleapis.com/chart?chs=150x150&cht=qr&chl="& A5)
sheet Code

sheet Code


                     
 เสร็จแล้วจะได้ QR Code ที่เราต้องการสามารถนำสมาร์ทโฟนมาสแกนเพื่อเข้าถึงวีดีโอได้เลย
sheet QR Code

sheet QR Code


การสร้าง QR Code เพื่อเปิดเอสารใน Google Drive 
     ขั้นตอนที่ 1 เปิด SpreadSheet ขึ้นมา

sheet Open

sheet Open


    
ขั้นตอนที่ 2 ไป Copy ลิงค์แชร์ไฟล์ใน Google Driver 
  - คลิกเข้าไปที่ Google Drive
                  google Drive
                            google Drive

                   - เลือกไฟล์ที่ต้องการแล้วคลิกขวาแล้วเลือกที่ "แชร์ "

     Sheet แชร์
     Sheet แชร์


                  - เลือก " ทุกคนที่มีลิงค์สามารถดูได้ " เสร็จแล้ว Copy ลิงค์ไปวางใน SpreadSheet


    Sheet Link
       Sheet Link

    
 ขั้นตอนที่ 3 นำลิงค์ของไฟล์ที่จะเปิดมาวางลงใน SpreadSheet ที่เปิดขึ้นมา
sheet copy linksheet copy link
  
ขั้นตอนที่ 5 พิมพ์โค๊ดตามรูปแบบนี้ =IMAGE("https://chart.googleapis.com/chart?chs=150x150&cht=qr&chl="& ชื่อเซล) แล้วกด Enter 
                       ตัวอย่าง : =IMAGE("https://chart.googleapis.com/chart?chs=150x150&cht=qr&chl="& A5)


Sheet Code File
Sheet Code File


                     
เสร็จแล้วจะได้ QR Code ที่เราต้องการสามารถนำสมาร์ทโฟนมาสแกนเพื่อเข้าถึงวีดีโอได้เลย
sheet QR Code

sheet QR Code



แหล่งที่มา
:https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/google-for-work/223-google-sheets/6075-qr-code.html 


วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

แบบฝึกหัดบทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

แบบฝึกหัด ครั้งที่ 7 
บทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) 


1. DSS คืออะไร
ตอบ  คือ ซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้าน ซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรือ อาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น

2. DSS มีกี่ประเภทอะไรบ้าง จงอธิบายแต่ละประเภท
ตอบ 1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure Decision ) การตัดสินใจลักษณะนี้จะเป็นการตัดสินใจที่มีกฏเกณฑ์ตายตัว เช่นการคิดค่าปรับในการลงทะเบียนล่าช้า การคิดภาษามูลค่าเพิ่มสินค้าชนิดที่ต้องมี VAT กรณีการตัดสินใจลักษณะนี้ 2. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structure ) การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรจำนอนมาก ด้วยเหตุผลนี้ผู้บริหารระดับสูงซึ่งทำการตัดสินใจจึงต้องมีทักษะเป็นอย่างดีเมื่อประสบปัญหาสามารถมองหาลู่ทางและตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยประสบการณ์ วิจารณญาณ ไหวพริบ ปฏิญาณ และความชำนานในการแก้ปัญหา ตัวอย่างการตัดสินใจประเภทนี้ 3. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Non Structure Decision) ลักษณะการตัดสินใจประเภทนี้จะใช้สำหรับผู้บริหารระดับสูงในระดับกลยุทธ (Selecting Strategies ) ตัวอย่างการกำหนดกลยุทธด้านการขายในรูปแบบต่างๆ ในลักษณะเช่นนี้ สารสนเทศจะมีส่วนสนับสนุน บ้าง

3. DSS กับ MIS แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ระบบ DSS เป็นระบบที่ทำการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้บริหารในการตัดสินใจ โดยการนำการประมวลผลในระบบ MIS มาประกอบกาานำ สารสนเทศจากภายนอกมาประกอบในการสร้างเครื่องมือ


            ระบบ MIS เป็นระบบที่มีการนำผลการประมวลผลในระดับของระบบ DP ของแต่ละงานในหน่วยงานที่ประมวลผล มาแล้วทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลของงานแต่ละงานที่เกี่ยวข้องกันหรือมีความสัมพันธ์กันของข้อมูลของงานแต่ละงาน

        ความแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS คือ เน้นการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (แนวทาง – ตรรก ที่แน่นอน) และใช้ข้อมูลภายในจากระบบDssเป็นหลัก จุดมุ่งหมายเพื่อบริหารจัดการ (Supervise) งานของหน่วยปฏิบัติการ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนงานที่กำหนดมาโดยผู้บริหารระดับกลาง ภายใต้งบประมาณ เวลาและข้อจำกัดอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด


อ้างอิง : https://natthidapimsee.blogspot.com/fbclid=IwAR0jIObC5alKYtSet5AIKZb3RryxKK_iSO3Hi7pMxz598mUn5GKrDxgeDDQ



สรุปบทเรียนที่ 7ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

บทเรียนที่ 7ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
 (Decision Support System) 



การจัดการกับการตัดสินใจ
                การจัดการ (Management) หมายถึง การบริหารอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือกันดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยใช้กระบวนการ และทรัพยากรอย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด
                กระบวนการจัดการประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการหรืออำนวยการ และการควบคุม ผู้บริหารต้องรู้จักเลือกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการตัดสินใจ
ระดับของการจัดการ

  •       การจัดการระดับสูง (Upper-level Management) ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ที่กำหนดวิสัยทัศน์นโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ วางแผนกลยุทธ์ และแผนระยะยาวขององค์การ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และสารสนเทศเกี่ยวกบแนวโน้มต่าง ๆ จากทั้งภายในและภายนอกองค์การ
  •       การจัดการระดับกลาง (Middle-level Management) ผู้บริหารระดับกลางมีหน้าที่วางแผนยุทธวิธี และประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูง และบริหารงานระดับต้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง ข้อสรุปและสารสนเทศต่าง ๆ ถูกรวบรวมมาทำการวิเคราะห์ และวางแนวทางในการดำเนินงาน
  •       การจัดการระดับต้น (Lower-level management) ผู้บริหารระดับต้น หรือหัวหน้างานมีหน้าที่ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานประจำวัน การทำงานมีรูปแบบที่แน่นอน ใกล้ชิดการผู้ปฏิบัติงาน การจัดการในระดับนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากการดำเนินงานที่ละเอียดนำมาวิเคราะห์เพื่อสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน ควบคุมให้สามารถดำเนินงานตามแผนระยะสั้นที่วางไว้
การตัดสินใจ (Decision Making)
                ขั้นตอนที่นำไปสู่การปฏิบัติเข้ารวมอยู่ในกระบวนการตัดสินใจด้วย ขั้นตอนการตัดสินใจที่ประกอบด้วย 4ขั้นตอน
  1. การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence) เป็นขั้นตอนที่รับรู้และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ ตรวจสอบเพื่อแยกแยะ กำหนดรายละเอียดของปัญหา
  2. การออกแบบ (Design) เป็นขั้นตอนการพัฒนา วิเคราะห์การปฏิบัติ รวมถึงการตรวจสอบ ประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา ใช้ตัวแบบเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา ออกแบบทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
  3. การคัดเลือก (Choice) เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับปัญหา สถานการณ์มากที่สุด ใช้เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
  4. การนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ ติดตามผลการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบการดำเนินงาน หากมีข้อขัดข้องจะต้องปรับปรุงให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์
ระดับการตัดสินใจภายในองค์การ
  1. การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ที่ให้ความสนใจในอนาคต การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงจะมีการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจการขยายกิจการ สารในเทศมีขอบเขตกว้าง มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การ เช่น สารสนเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
  2. การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี (Tactical Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเกี่ยวกับการจัดการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ตามผู้บริการระดับสูงกำหนดไว้ การตัดสินในระดับนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง เช่น การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดการผลิต เป็นต้น
  3. การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ (Operational Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ หรือหัวหน้างาน เกี่ยวข้องกับงานประจำ การปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติงานได้ตามแผนที่วางไว้อย่างสำเร็จ และมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับปัญหาลักษณะแบบมีโครงสร้าง สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้า ทำการตัดสินใจได้อัตโนมัติ เพราะเป็นปัญหาเรื่องซ้ำๆกัน เช่น การวางแผนเบิกจ่ายวัสดุ การมอบหมายงานให้พนักงาน สารสนเทศที่ใช้การตัดสินใจส่วนใหญ่เป็นสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลภายในองค์การ
ประเภทการตัดสินใจ
  1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structured Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่มีขั้นตอน กระบวนการในการแก้ปัญหาที่แน่ชัด สามารถกำหนดโครงสร้าง หรือกฎเกณฑ์ในการตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าคงคลัง
  2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่สามารถกำหนดกระบวนการตัดสินใจล่วงหน้า เช่น การคัดเลือกผู้บริหารเข้าทำงาน การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่
  3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่สามารถระบุกระบวนการ หรือวิธีการตัดสินใจได้ล่วงหน้าในบางส่วน แต่ไม่มากพอที่จะนำไปสู่การตัดสินใจตามที่แนะนำได้อย่างแน่นอน ต้องใช้ประสบการณ์ของผู้ตัดสินใจ เช่น โมเดลทางคณิตศาสตร์ ทางสถิติ ทางการเงิน
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
                เทคโนโลยีและการสื่อสารมีผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับสูงจึงเข้ามาเกี่ยวข้องและใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถช่วยองค์การแก้ปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์การ ระบบสารสนเทศอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
                ระบบ DSS คือ ระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์โดยอาศัยความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ระบบได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย และสะดวก มีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลได้ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
                ระบบ DSS ผู้บริหารสามารถทดสอบการเลือกในการตัดสินใจ โดยตั้งคำถามในลักษณะ "ถ้า…..แล้ว…." จะช่วยให้มีทางเลือกที่จะตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างหลากหลายทางเลือก
ส่วนประกอบของระบบ DSS
      ส่วนจัดการข้อมูล (Data Management Subsystem) ประกอบด้วยฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนสอบถามข้อมูล สารบัญข้อมูล ส่วนการดึงข้อมูล และข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ ระบบ DSS เชื่อมต่อการฐานข้อมูลขององค์การหรือคลังข้อมูล เพื่อดึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการตัดสินใจมาใช้
      ส่วนจัดการโมเดล (Model Management Subsystem) ประกอบด้วยฐานแบบจำลอง ระบบฐานแบบจำลอง ภาษาแบบจำลอง สารบัญแบบจำลอง  และส่วนดำเนินการแบบจำลอง
ฐานแบบจำลอง จัดเก็บแบบจำลองที่มีความสามารถในการวิเคราะห์  มีระบบจัดการฐานแบบจำลอง เป็นซอฟต์แวร์ในการสร้าง และจัดการแบบจำลอง ระบบจัดการฐานแบบจำลองมีหน้าที่หลัก ดังนี้
  
สร้างแบบจำลองของระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
  สามารถจัดเก็บและจัดการแบบจำลองชนิดต่างๆ
  สามารถจัดกลุ่มและแสดงสารบัญของแบบจำลอง
  สามารถติดตามการใช้แบบจำลองและข้อมูล
  สามารถเชื่อมโยงแบบจำลองต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมโดยผ่านทางฐานข้อมูล
การใช้แบบจำลอง หรือตัวช่วยแก้ปัญหาการตัดสินใจมีข้อดีที่ช่วยให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ ทำได้อย่างประหยัด  ตัวแบบยังช่วยให้สามารถทดลองแก้ปัญหาโดยยังไม่ต้องทำกับสภาพเป็นจริง แบบจำลองเพื่อการตัดสินใจมีหลายประเภท DSS ถูกสร้างขึ้นมา ประกอบด้วยแบบจำลองที่แตกต่างกัน แบบจำลองมีตัวอย่าง ดังนี้
v     แบบจำลองทางสถิติ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบต่าง ๆ
v     แบบจำลองเพื่อหาจุดเหมาะสมที่สุด เป็นการหาค่าเหมาะสมที่สุดของตัวแปรตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่ำสุด
v     แบบจำลองสถานการณ์ เป็นตัวแบบคณิตศาสตร์ที่ใช้การสร้างชุดสมการเพื่อแทนสภาพของระบบที่ทำการศึกษาแล้วทำการทดลองจากตัวแบบเพื่อศึกษาสิ่งที่จะเกิดกับระบบ

      ส่วนจัดการโต้ตอบ (Dialogue Management Subsystem) เรียกว่า ส่วนการประสานผู้ใช้ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับระบบ เพื่อให้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับระบบเป็นไปด้วยความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลนำเข้าและรูปแบบจำลองรวมอยู่ในการวิเคราะห์ได้ เช่น การใช้เมาส์ การใช้ระบบสัมผัสในการติดต่อกับระบบ
      ส่วนจัดการองค์ความรู้ (Knowledge-based Management Subsystem) ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างหลายปัญหาที่มีความซับซ้อนมาก ต้องการความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหา  DSS ขั้นสูงมีส่วนที่เรียกว่าการจัดการองค์ความรู้เพิ่มมาเป็นส่วนประกอบอื่นของระบบ DSS ให้ทำงานดีขึ้น  ระบบ DSS มีส่วนจัดการองค์ความรู้ประกอบด้วย เรียกว่า
v     ระบบสนับสนุนการตัดสินใจชาญฉลาด (Intelligence DSS)
v     ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและผู้เชี่ยวชาญอิงฐานความรู้ (DSS/ES)
v     ระบบสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ (Expert Support System)
v     ระบบแอ็กทีฟ ดีเอสเอส (Active DSS)
v     ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอิงฐานความรู้ (Knowledge-based DSS)
ประเภทของระบบ DSS
      ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้รูปแบบเป็นหลัก (Model-driven DSS) เป็นระบบที่ใช้การจำลองสถานการณ์ และรูปแบบการวิเคราะห์ต่าง ๆ เช่น โมเดลทางการบัญชี ซึ่งสามารถวิเคราะห์ระบบขึ้นอยู่กับเครื่องมือซอฟต์แวร์
      ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเป็นหลัก (Data-driven DSS)  เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ เช่น ข้อมูลจากฐานข้อมูลองค์การ ซึ่งมีข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งอาจนำเอาระบบโอแลปมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1.        สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง นำสารสนเทศจากระบบมาประกอบการตัดสินใจ
2.        สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ
3.        สนับสนุนการตัดสินใจแบบเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่มได้ เนื่องจากปัญหาแตกต่างกันต้องอาศัยการตัดสินใจจากหลายคนร่วมกัน
4.        สนับสนุนการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวพันซึ่งกัน และปัญหาแบบต่อเนื่อง
5.        สนับสนุนทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ
6.        สนับสนุนการตัดสินใจหลายรูปแบบ
7.        สามารถปรับข้อมูลเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นสูง
8.        สามารถใช้งานได้ง่าย
9.        เพิ่มประสิทธิผลในการตัดสินใจ
10.      ผู้ทำการตัดสินใจสามารถควบคุมทุกขั้นตอนในการตัดสินใจแก้ปัญหา
11.      ผู้ใช้สามารถสร้างและปรับปรุงระบบ DSS ขนาดเล็กที่มีการทำงานงานแบบง่าย ๆ ได้ด้วยตนเอง
12.      มีการใช้แบบจำลองต่าง ๆ ช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์การตัดสินใจ
13.      สามารถเข้าถึงข้อมูลจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
ความแตกต่างระหว่างระบบ DSS และระบบสารสนเทศอื่น
                ระบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำให้ฝ่ายบริหาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิเคราะห์ขององค์การ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล และสารสนเทศสำหรับการวางแผนและตัดสินใจที่เกี่ยวกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ต่างจากระบบ TPS และระบบ MIS โดยระบบ TPS มีการจัดการข้อมูลสำหรับงานประจำวัน ใช้ระบบที่สอดคล้องกับขั้นตอนการปฏิบัติการ สำหรับระบบ MIS ให้สารสนเทศควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงาน และสรุปผลการดำเนินงาน ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจปัญหาแบบโครงสร้างได้
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล
                เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของแต่ละบุคคล เช่น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกซื้อประกันรถยนต์โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปในเว็บไซต์ของผู้ให้ประกัน และกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบคำนวณเบี้ยประกันให้ตามที่ต้องการ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS)
                การตัดสินใจปัญหาบางส่วนในองค์กรอาจต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะทำงาน  เนื่องจากปัญหานั้นมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย  การให้บุคคลเดียวตัดสินใจแก้ปัญหาอาจไม่รอบคอบและถูกต้อง จึงอาศัยการทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มบุคคล
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม GDSS เป็นระบบที่สนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่ง เป็นระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มบุคคล ต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของสมาชิกเข้าด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นภายในกลุ่มได้ เพราะสมาชิกในกลุ่มไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่เดียวกัน
ส่วนประกอบของ GDSS
  1. อุปกรณ์  ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการประชุม เช่น การจัดห้องประชุม โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ อยู่ในลักษณะที่เกื้อหนุนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
  2. ชุดคำสั่ง (Software) เป็นชุดคำสั่งสำหรับกลุ่มที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล สร้างทางเลือก ประกอบด้วย แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือช่วยกำหนดนโยบาย รวมถึงซอฟต์แวร์เครือข่าย
  3. ฐานแบบจำลองของระบบ GDSS (Model Base) ประกอบด้วยแบบจำลองเช่นเดียวกับระบบ DSS ส่วนบุคคล เช่น แบบจำลองเชิงปริมาณ แบบจำลองทางการเงิน เป็นต้น
  4. บุคลากร (People) ประกอบด้วยสมาชิกในกลุ่มและผู้สนับสนุนด้านต่าง ๆ


ประโยชน์ของ GDSS ช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนี้
  1. ช่วยเตรียมความพร้อมในการประชุม
  2. อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิกกลุ่ม
  3. ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
  4. จัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
  5. ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
  6. อำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารประกอบการประชุม
  7. ช่วยประหยัดเวลาในการประชุม สามารถลดจำนวนครั้งของการประชุมได้ 

แหล่งที่มา : https://pimpanp.wordpress.com

แบบฝึกหัดบทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

แบบฝึกหัดบท ครั้ง 10  บทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ 1. สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหา 1 หน้ากระดาษรายงานเพื่อเตรียมตัวสอบ  ...