วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สรุปบทเรียนที่ 2การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์


วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์ 
มีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน

1.Input ทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อรับนำข้อมูลไปประมวลผล เช่น Keyboard, Mouse, Scanner, Microphone, Digital Camera เป็นต้น
2.Process เมื่อรับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมที่กำหนด เช่น การคำนวณภาษี คำนาณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น
3.Output การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลไปยังหน่วยแสดงผล ได้แก่ Monitor, Speaker, Printer เป็นต้น
4.Storage การจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น Hart Disk, CD-ROM, USB Flash Drive เป็นต้น
ประเภทของคอมพิวเตอร์ จำแนกเป็น 7 ประเภทดังนี้คือ


1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีความสามารถในการประมาลผลได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ใช้ในการพยากรณ์อากาศ การทดสอบอวกาศ เป็นต้น หน่วยง่านที่ใช้ได้แก่ NASA และหน่วยงานธุรกิจขนาดใหญ่


2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainframe computer) สามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำขนาดใหญ่ จัดเก็บข้อมูลได้มาก งานที่ใช้เช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น


3.มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer) หรือเรียกว่า Mid-range Computer/Server สามารถรองรับการใช้งานจากผู้ใช้หลายคนในงานที่แตกต่างกัน นิยมใช้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม เป็นต้น


4.คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC)เหมาะกับสำนักงาน สถานศึกษา และที่บ้าน นอกจากนี้ยังจำแนกได้ดังนี้
- All-in-one Computer จอภาพและหน่วยประมวลผลอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน
- Workstation ออกแบบเพื่อใช้งานด้านการคำนวณและกราฟฟิก
- Stand-alone Computer สามารถทำงานที่เรียกว่า IPPOS cycle
- Server Computer สามารถทำงานใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์


5.คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (NotebookComputer) สามารถใช้งานเช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เนื่องจากพกพาสะดวก


6.Hand-held Personal Computer มีขนาดเล็กที่สุดที่สามารถจัดการข้อมูลส่านบุคคล ตลอดจนใช้งานอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันที่นิยมใช้เช่น Pocket PC และ Paim


คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) เป็นการฝังอุปกรณ์การทำงานเฉพาะด้าน

ทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ (Hardware)

โดยทั่วไปหมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อื่นๆที่ต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบหลัก ส่วนคือ
1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ ซีพียู (CPU)
3. หน่วยความจำ (Memory)
4. อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) 5. อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Devices)
6. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Storage Devices)

การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เหมาะสมต่อการใช้งานในองค์การมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เกิดการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการจัดการกับทรัพยากรไอทีด้านฮาร์ดแวร์นั้นมีประเด็นในการพิจารณาดังนี้
1. จัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจ
2. กำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์
3. จัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
มีหน้าที่ในการควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการแบ่งเป็น 2ประเภท
1. ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ ประเภท
ระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส ลีนุกซ์, windows 98, ME, XP, Vista
โปรแกรมอรรถประโยชน์ เช่น โปรแกรม Disk Defragmenter , Virus Scan, WinZip
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะงานต่างๆ ขององค์การ และมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูง เช่น Microsoft word, power point, Adobe Photoshop, Adobe Pagemaker ฯลฯ


อ้างอิงแหล่งที่มา:http://refresh-m.blogspot.com/2007/11/2.html
                            http://misjinda.blogspot.com/2010/10/blog-post_31.html







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

แบบฝึกหัดบท ครั้ง 10  บทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ 1. สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหา 1 หน้ากระดาษรายงานเพื่อเตรียมตัวสอบ  ...